"จงสอนลูกจับปลา" ไม่ใช่หาให้กิน พ่อแม่สมัยนี้กลัวลูกลำบาก โดยไม่คิดว่าลูกจะอยู่เองยังไง




"จงสอนลูกจับปลา" ไม่ใช่หาให้กิน พ่อแม่สมัยนี้กลัวลูกลำบาก โดยไม่คิดว่าลูกจะอยู่เองยังไง

วันนี้เราขอหยิบยกเรื่องราวที่น่าสนใจมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน เมื่ออ่านแล้วอาจเปลี่ยนความคิดในการเลี้ยงลูกไปตลอดกาล นิทานสั้นๆ แต่กินใจเรื่องนี้มีชื่อว่า "จงสอนลูกจับปลา ไม่ใช่หาปลาให้ลูกกิน"...

“ให้ปลาฉันหนึ่งตัว ฉันมีกินแค่หนึ่งวัน

สอนฉันจับปลา ฉันมีกินตลอดไป”

วัยรุ่นคนหนึ่งขอเงินแม่ไปเที่ยว

แม่บอกว่า “ลูกรู้ไหมว่าสมัยแม่อายุเท่าลูก ไม่เคยเที่ยวที่ไหน ต้องทำงานทุกอย่าง พับถุงกระดาษขาย ตัดใบตองให้แม่ค้า เงินทองหายากแต่ละบาทแต่ละสตางค์ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำจะไปเที่ยวอย่างนี้ไม่ได้…”

เด็กฟังแม่เงียบๆ

“ลูกต้องรู้จักความลำบาก ไม่งั้นอีกหน่อย เกิดตกยากแล้วจะทำยังไง ขึ้นรถเมล์ก็ไม่เป็นใช้เงินอย่างนี้ จะเอาตัวรอดได้ยังไง”

เมื่อแม่เทศน์จบ ก็ควักเงินยื่นให้ลูก นี่ไม่ใช่เรื่องแต่ง พ่อแม่จำนวนมากทำอย่างนี้เมื่อลูกขอเงินไปเที่ยว จะเทศน์ลูกหลายกัณฑ์เล่าย้อนไปถึงชีวิตลำบากของตนในวัยเท่ากันแล้วลงท้ายให้เงินลูกไป!

คนหาเช้ากินค่ำ สมัยก่อนไม่มีคำว่า “มรดก” ในพจนานุกรมชีวิต ทุกอย่างในชีวิตต้องหามาเองด้วยสองมือทว่าคนรุ่นนี้เมื่อลืมตาอ้าปากได้และเป็นพ่อแม่มักจะทำให้ลูกเสียคนโดยไม่ตั้งใจพ่อแม่จำนวนมากเก็บเงินเก็บทองไว้โดยไม่ยอมใช้ บอกว่า “เก็บไว้ให้ลูก”

เหตุผลอาจเพราะ พ่อแม่ไม่อยากให้ลูกผ่านความลำบากเหมือนตัวเองการให้ทุกอย่างแก่ลูก เหมือนสะท้อนสิ่งที่ตัวเองอยากได้ในวัยเด็ก แต่มันกลับสร้างนิสัยที่ไม่สู้งานหนักไปโดยปริยายไม่มีเงินเป็นปัญหา มีเงินก็เป็นปัญหา! บางครั้งและบ่อยครั้ง การมีเงินมาก อาจทำให้เลี้ยงลูกยากขึ้น เงินก็เหมือนคอเลสเตอรอล น้อยไปก็ไม่ดี มากไปก็อันตราย ในสังคมบูชาคนรวย และการรวยทางลัด การอบรมสั่งสอนเด็ก เดี๋ยวนี้ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะสิ่งเร้ารอบตัว

ทางเดียวที่จะให้เด็กโตขึ้นแล้วยืนด้วยตัวเองได้ คือต้องสอนเรื่องวินัยการใช้เงินไม่พอกพูน ด้วยคอเลสเตอรอลแห่งวัตถุนิยมมากเกินไปจนเด็กอ่อนแอ พ่อแม่ต้องมองภาพกว้างและมองให้ออกว่า หากให้มากเกินไปจะทำให้ลูกอ่อนแอหรือไม่ทำอะไรไม่เป็นเลยหรือเปล่า

ความรักย่อมเป็นเรื่องดี แต่ต้องรักให้ถูกวิธีด้วยคนรวยที่ฉลาด รู้ว่าการได้เงินเป็นเรื่องง่ายกว่าการสูญเสียเงิน และคนที่ไม่รู้จักหาเงิน มักเสียเงินได้ง่ายกว่าคนที่รวยจากสมบัติที่ได้มาง่ายๆ จากมรดก อาจจะขาดความรู้สึกดีๆ ของการสร้างตัวด้วยมือตัวเอง

มีตัวอย่างจริงไม่น้อย ที่คนรวยแบ่งสมบัติครึ่งหนึ่งให้องค์กรการกุศล และที่เหลือให้ลูกหลานเพื่อให้เด็กเรียนรู้ที่จะยืนด้วยตัวเอง มหาเศรษฐีลำดับต้นๆ ของโลก "วอร์เรน บัฟเฟตต์" บอกว่าลูกๆ ของเขาจะต้องแผ้วถางทางของพวกเขาเอง

แน่นอนลูกๆ ของเขาก็รู้ว่าเขารอช่วยทุกอย่าง แต่ก็ต้องลงแรงทำงานก่อน ซึ่งบัฟเฟตต์เชื่อว่า การให้เงินทองแก่ลูกหลานด้วยจำนวนที่มากพอสบายทั้งชีวิต “เพียงเพราะพวกเขาออกมาจากมดลูกที่ถูกต้อง” เป็นเรื่องอันตราย เพราะการให้ อาจทำร้ายลูก บัฟเฟตต์จึงให้มรดกแก่ลูกหลานมากพอที่พวกเขารู้สึกว่าสามารถทำอะไรก็ได้ แต่ไม่มากพอที่พวกเขาไม่ต้องทำอะไรเลย

เราต้องสอนให้เด็กมีค่านิยมชื่นชมบุคคลที่สร้างตนเองจากศูนย์ หาเงินอย่างสุจริต รู้คุณค่าของการทำงาน การสร้างตัว ไม่กลัวงานหนัก สิ่งที่ควรให้ลูกมากกว่าเงินก็คือ "ความเอาใจใส่" รับรู้กิจกรรมที่ลูกทำ เป็นเพื่อนกับลูก สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่มีค่ากว่าการให้เงินอย่างเดียว และตามสุภาษิตจีนที่ว่า “สอนลูกจับปลา ไม่ใช่จับปลาให้ลูก”


ข้อมูลและภาพจาก...mumkhao


"จงสอนลูกจับปลา" ไม่ใช่หาให้กิน พ่อแม่สมัยนี้กลัวลูกลำบาก โดยไม่คิดว่าลูกจะอยู่เองยังไง "จงสอนลูกจับปลา" ไม่ใช่หาให้กิน พ่อแม่สมัยนี้กลัวลูกลำบาก โดยไม่คิดว่าลูกจะอยู่เองยังไง Reviewed by Dusita Srikhamwong on สิงหาคม 29, 2562 Rating: 5

Post Comments

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.