อานิสงส์ของการสวดธัมมจักกัปวัตตนสูตร สวดแล้วดี มีบุญบารมีมาก




อานิสงส์ของการสวดธัมมจักกัปวัตตนสูตร สวดแล้วดี มีบุญบารมีมาก

นี่เป็นส่วนหนึ่งของพระภิกษุที่เทศน์ถึงอานิสงส์ของการสวดธัมมจักกัปปวัตตนูตร …ไม่ใช่ว่าใครจะมาสวดก็ได้นะ ต้องเฉพาะ “ผู้มีบุญ” ผู้มีบุญมีบารมีมากถึงจะมาสวดบทนี้ได้ ให้ลองคิดดูสิ คน ๗,๐๐๐ กว่าล้านคนทั่วโลก เกิดเป็นชาวพุทธแค่กระจุกเดียว

แต่มีโอกาสได้มาสวดแค่ กระจิ๊ดเดียวเท่านั้น ดังนั้น..ผู้ที่มาได้จึงเป็นผู้มีบุญมาก เป็นผู้ที่ได้กล่าวสาธยายธรรมบทแรกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในไม่กี่คนบนโลก

ใครมาสวดจะประสบแต่ความสำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรมเลยล่ะ ต้องกระทุ้งบ่อยๆ ว่า “เราเป็นหนึ่งในไม่กี่คนบนโลกนี้”

บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

บทขัดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

อะนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต
ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ  ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมา
จะตูสวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
นาเมนะ วิสสุตัง สุตตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะฌามะ เส ฯ

คำแปล

พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เมื่อจะทรงประกาศธรรมที่ยังไม่มีใครแสดงโดยชอบในโลก ได้ทรงแสดงธรรมจักร ซึ่งกล่าวถึงส่วนที่สุดสองประเภท และทางสายกลางเป็นรู้แจ้งหมดจดอริยสัจสี่

ขอเราทั้งหลายจงสวดธรรมจักรนั้นที่พระธรรมราชาทรงแสดง ปรากฏสมญานามว่า ธัมมจักจักกัปปวัตตนสูตร เป็นสูตรประกาศ พระสัมมาสัมโพธิญาณและพระสังคีติกาจารย์ได้ร้อยกรองไว้โดยความเป็นพระบาลีประเภทร้อยแก้ว เทอญ

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ

เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ  นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง  อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา  ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต  สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยัะสัจจัง ฯ ชาติปิ  ทุกขะ ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะ โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข  ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว  ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ  กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง ฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ  อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ

อิ ทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ  สัจจัง ฯ

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมา  อาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสมาธิ ฯ (หยุด)

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง  อุทะปาทิญานัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญาอุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว  ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ เม ภิกขะเว  ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว  ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง  ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ  ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ  เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ  อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว  ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิวิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ  เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว  สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

ยะโต จะ โข เม  ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง  ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก  สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ  ปัจจัญญาสิง ฯ ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ

อิทะมะโว จะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ  อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง  อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง  อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา  เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา  เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ (หยุด)

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ  พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ

อะถะโข ภะคะวา  อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ ฯ

อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ

โอวาทโดย คุณคຣูไม่ใหญ่

จะมีอานิสงส์ คือ เสียงจะไพเราะ มีทั้งดวงปัญญา มีอุปกรณ์ในการพูดและการเปล่งเสียงที่ดี ลิ้นที่ใช้สัมผัสรสจะดี ฟันสวย ปากสวย กลิ่นปากจะหอมฟุ้งด้วย กลิ่นศีล กลิ่นธรรม เสียงจะไพเราะ

จะมีเสียงที่ก้องกังวาน ไม่แหบ ไม่เครือ ไม่พร่า หูฟังเสียงก็จะดี คือ หูจะไม่ตึง จะมีหูที่สวยงามและจะมีอุปกรณ์ฟังเสียงที่ดี จะได้ยินเสียงหยาบและละเอียด จนกระทั่งได้ยินเสียงทิพย์เลย

ไม่เพียงแค่นั้น ดวงตาก็จะเห็นแต่สิ่งดีๆ เห็นอย่างตาทิพย์ และเห็นด้วยธัมมจักขุเลยทีเดียว มือที่พนมในการสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรจะสวยงามและมีนิ้วสวยกว่าลำเทียน มีมือเป็นทิพย์ เพราะพนมมือผ่านดวงใจบูชาธรรมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อจะหยิบจะจับอะไรก็เป็นสมบัติ ได้รับการเคารพนับถือ กราบไหว้บูชาทั้งหลาย ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่มาสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จะมีแต่เรื่องดีๆ ทั้งนั้นแหละ

ยิ่งมาสวดเป็นทีม จะมีพรรคมีพวก เมื่อมีพรรคมีพวก..ความสะดวกก็มี มีบริวารสมบัติ และ พรรคพวกแต่ละคนก็จะมีศีลธรรม เก่งและดีทั้งนั้น ยิ่งชวนมาสวดเยอะๆ ก็จะมีพรรคพวกที่ดี

นอกจากนั้น..การสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรยังเป็นการรักษาไข้ใจได้ดี เป็นธรรมโอสถ คือ สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ถ้าทั้งกินทั้งทาไม่ต้องฉีดก็หายแล้ว หายหมดเลย ทั้งไข้กายและไข้ใจ…

ด้วยบุญกุศลที่ลูกได้ทำในครั้งนี้ ลูกขออุทิศส่วนบุญกุศลทั้งหลายให้กับ บิดา มารดา บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และเทวดาผู้รักษาบ้านเมือง เทวดาพระอังคารผู้เป็นเทวดาประจำตัวลูก พระยาอินทร์ พระยาพรหม พระยายมราช ทั้งหลายตลอดถึงเจ้ากรรมนายเวรของลูกที่มีมาในอดีตชาติ ซึ่งเกิดมาชาตินี้เป็นคนก็ดี เป็นสัตว์ก็ดี เป็นเปรตวิสัยสัมภเวสีที่ไหน หรือเป็นโรคาพยาธิที่เกิดขึ้นกับลูกก็ดี

และในอนาคตข้างหน้า เจ้าที่เจ้าทางทั้งหลายที่ลูกเคยลบลู่เหยียบย่ำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขอให้มารับเอาส่วนบุญกุศลของลูกในครั้งนี้ ขอให้มีความสุข ความสบายด้วยกันทุกฝ่าย และด้วยบุญกุศลที่ลูกทำขอให้เป็นดังร่มและเงา ติดตามลูกไปทุกภพทุกชาติ นับแต่ชาตินี้เป็นต้นไป จนถึงนิพพานเป็นที่สุดด้วยเทอญ

โอวาทโดย คุณครูไม่ใหญ่


ที่มา...


อานิสงส์ของการสวดธัมมจักกัปวัตตนสูตร สวดแล้วดี มีบุญบารมีมาก อานิสงส์ของการสวดธัมมจักกัปวัตตนสูตร สวดแล้วดี มีบุญบารมีมาก Reviewed by Dusita Srikhamwong on สิงหาคม 21, 2562 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.