หญ้าพันงู สมุนไพรดีริมทาง รักษาอาการปวดเมื่อย บำรุงกระดูก พร้อมวิธีทำ
หญ้าพันงู เกิดตามทุ่งนาริมทางชนบท บางที่ปลูกใช้ทำยา เป็นพืชล้มลุกขึ้นอยู่ปี 2 ปี ลำต้นแข็งแรงและเหนียว ขึ้นตรง ลำต้นเหลี่ยมมีขนประปราย สูง ประมาณ 2-3 ฟุต มีข้อลํ่า ใบคู่รูปกลมรี ยาวปูระมาณ 2-3 นิ้ว มีขนแข็ง หยาบ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ดอกขึ้นเป็นรวงในหน้าร้อนเต็มไปด้วยขน ดอกเล็กสีเขียวปลายแหลมมีกลีบงออยู่สองกลีบ ซึ่งสามารถ เกาะติดคนหรือสัตว์ที่เดินเฉียดต้น
รสชาติ
รสฝาดแกมหวานนิดๆ ธาตุร้อนปานกลาง ไม่มีพิษ
สรรพคุณ
รับประทานแก้ลม แก้พิษ บำรุงกระดูก ใช้พอกแก้พิษในลำคอ ฤทธิ์เข้า สู่ตับและไต
การรักษาโรค
ไข้จับสั่น บิด ปวดเอว ปวดเมื่อยเนื่องจากโรคไขข้ออักเสบ ผู้หญิงตกขาว ใช้ภายนอกแก้เจ็บคอ
ตำรายาชาวบ้าน
1. ไข้จับสั่น/ให้หญ้าพันงู ตำลึงครึ่ง ต้มสันเนื้อหมู
2. บิด/ใช้หญ้าพันงู 2 ตำลึง ต้มน้ำ ชงน้ำผึ้งรับประทาน
3. ปวดเอว/ใช้หญ้าพันงู หรือใช้ราก 1 ตำลึง ต้มกับกระดูกหางหมู ชงเหล้านิดหน่อย หรือต้มกับเนื้อหมูรับประทาน
4. ปวดเมื่อยเนื่องจากโรคไขข้ออักเสบ/ใช้หญ้าพันงู 1 ตำลึง ต้มกระดูกหมู หรือใช้ราก 1 ตำลึง ต้มน้ำชงเหล้ารับประทาน
5. ผู้หญิงตกระดูขาว/ใช้หญ้าพันงู 1 ตำลึง ต้มเนื้อสันหมูรับประทาน
6. เจ็บคอ/ใช้หญ้าพันงู ต้มน้ำใส่น้ำตาลแดงหรือตำเอาน้ำรับประทาน หรือ เอารากตำแหลกใส่ถุงผ้าใช้ด้ายผูก ดองน้ำส้ม ใช้อม
ปริมาณใช้
ดิบไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 1 ตำลึง
ข้อควรรู้
คนไตไม่แข็งแรงห้ามกินมาก หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน
1 บาทเท่ากับ 15 กรัม
1 ตำลึง เท่ากับ 60 กรัม
1 ทะนาน เท่ากับ 1 ลิตร
ข้อมูลจาก สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มา:บุญชัย ฉัตตะวานิช
และ https://kaset-news.com/
หญ้าพันงู สมุนไพรดีริมทาง รักษาอาการปวดเมื่อย บำรุงกระดูก พร้อมวิธีทำ
Reviewed by Dusita Srikhamwong
on
สิงหาคม 21, 2562
Rating:

ไม่มีความคิดเห็น: