สูตรการทำน้ำใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรมีฤทธิ์เย็น ช่วยบำรุงตับและไต แก้อ่อนล้า มีเบต้าแคโรทีนสูง




สูตรการทำน้ำใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรมีฤทธิ์เย็น ช่วยบำรุงตับและไต แก้อ่อนล้า มีเบต้าแคโรทีนสูง

ใบย่านาง สรรพคุณนั้นมีหลากหลาย เพราะเป็นสมุนไพรมีฤทธิ์เย็น มีคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ และยังมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีนในปริมาณค่อนข้างสูง

โดยเป็นสมุนไพรที่ใครหลาย ๆ คนต่างก็คุ้นเคยกันดี เพราะนิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรสช่วยเพิ่มความกลมกล่อมของอาหาร เช่น แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ แกงเลียง แกงหวาน เป็นต้น

การทำน้ำใบย่านาง ให้เตรียม อุปกรณ์ ดังนี้

    เครื่องปั่นน้ำผลไม้
    กระชอนตาถี่ หรือผ้าขาวบาง
    กรวยเล็ก

เตรียมวัสดุ ดังนี้

    ใบย่านาง ประมาณ 20 ใบ
    ใบเตย 3 ใบ
    ใบบัวบก 1 กำมือ
    หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น
    ใบอ่อนเบญจรงค์ 1 กำมือ
    ใบเสลดพังพอน 1 กำมือ
    ว่านกาบหอย 5 ใบ
    ใบว่านฮ๊อก 5-10 ใบ

**หมายเหตุ หากหาไม่ได้ทั้งหมดก็ไม่เป็นไรเอาเท่าที่หาได้ แต่จะขาดใบย่านางไม่ได้หรืออย่างอื่นหาไม่ได้จริงๆ จะแค่ใบย่านางอย่างเดียวก็ได้)

วิธีทำ

1. นำสมุนไพรทั้งหมดมาจัดการความสะอาดก่อน

2. นำใบสมุนไพรที่คิดว่าล้างสะอาดแล้ว มาตัด มาหั่นให้มัน เป็นชิ้นเล็กสักหน่อย เพื่อนำใบไปโขลก หรือนำไปปั่น

3. เมื่อละเอียดแล้ว เอามากรอง จะเห็นว่าน้ำที่เราปั่นมานะมันข้น กินแบบนี้ไม่ได้ ก็ให้เราผสมน้ำลงไปให้ดูพอดี แค่ไหนพอดี ก็ลองผสมแล้วดื่มดู พอดีนี่คือดื่มแบบรู้สึกว่าสบายๆ ไม่ฝื่น ไม่เหม็นเขียว ประมาณนั้น จะผสมน้ำก่อนกรอกใส่ขวด หรือกรอกใส่ขวดก่อน แล้วค่อยผสมตอนดื่มก็ได้ แต่ถ้าผสมก่อนดีอย่างหนึ่งคือ อัตราส่วนความเจือจางมันจะเท่ากัน

4. เอากระบวย แยงปากขวดเข้า (หรือคิดว่าแน่ก็ไม่ต้องใช้กระบวย ถึงตอนนี้ จะสังเกตุเห็นว่า มันมีฟองอยู่ ค่อยๆ ช้อนฟองทิ้งซะ หรือชอบก็ไม่ต้องทิ้ง ตอนใส่ขวดนี่นะพอใกล้เต็มขวดมันจะมีฟองอยู่ที่ปากขวด ให้ใส่ให้เต็มฟองมันจะล้นออกมาเองแล้วปิดฝา ล้างภายนอกขวดให้สะอาด ยัดใส่ตู้เย็นช่องธรรมดา

คำแนะนำผู้กินยาก

สำหรับบางคนที่รู้สึกว่ากินยาก เหม็นเขียว กินแล้วรู้ไม่สบายก็สามารถผสมน้ำย่านาง
ให้เจอจาง หรือจะผสม กับน้ำมะพร้าว น้ำมะนาว น้ำตาล หรือแม้แต่น้ำเฮลล์บลูบอยก็ไม่ทำให้คุณภาพเสียไป

ดื่มตอนไหน

ควรดื่มน้ำย่านางสดๆ ก่อนอาหารหรือตอนท่องว่าง หรือจะดื่มแทนน้ำก็ได้เมื่อรู้สึกกระหายน้ำ

ขนาดดื่ม

ประมาณหนึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง ต่อวันควรดื่มแต่พอดี หากดื่มแล้วรู้สึกแพ้ ผะอืดผะอม ก็ควรลดความเข้มข้นของสมุนไพรที่ใส่ลงไปให้น้อยลงอีกจนเหมาะสม

ข้อห้าม

ห้ามดื่มหลังทานอาหาร ถ้าจะดื่มให้หลังจากทานอาหารแล้ว 2 ชั่วโมง สาเหตุเพราะมันจะไปทำให้ระบบย่อยอาหารหยุดทำงาน จะมีผลเสียมากกว่าผลดี การดื่มน้ำตามหลังทานอาหาร ถึงแม้น้ำเปล่าก็ไม่ควรดื่ม จะมีผลเช่นเดียวกัน ถ้าจำเป็นต้องดื่มควรเป็นน้ำอุ่น เล็กน้อย

*ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ

ย่านาง เป็นพืชสมุนไพร ที่ใช้เป็นอาหาร และ เป็นยามาตั้งแต่โบราณ หมอยาโบราณอีสานเรียกชื่อทางยาของย่านางว่า “หมื่นปี บ่ เฒ่า” แปลเป็นภาษาภาคกลางว่า ” หมื่นปีไม่แก่ “
สรรพคุณใบย่านาง

ใบย่านาง ในตำราสมุนไพรจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะ

    มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก จึงช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล
    ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย
    ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
    ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
    ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย
    เป็นสมุนไพรที่ช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างเห็นผลและปลอดภัย
    ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน
    ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
    เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งอย่างมาก
    ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
    ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
    ช่วยในการบำรุงรักษาตับและไต
    ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น มีสีเหลืองหรือเขียว หรืออาการเสมหะพันคอ
    ช่วยแก้อาการอ่อนล้า อ่อนเพลียของร่างกายที่แม้นอนพักก็ไม่หาย
    ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อย ๆ
    ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อต หรือมีเข็มแทง หรือมีอาการร้อนเหมือนไฟ
     ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายแตกใต้ผิวหนังได้ง่าย
    ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
    ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียนได้

แหล่งที่มา : oknation.com, NAVA DIY


สูตรการทำน้ำใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรมีฤทธิ์เย็น ช่วยบำรุงตับและไต แก้อ่อนล้า มีเบต้าแคโรทีนสูง สูตรการทำน้ำใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรมีฤทธิ์เย็น ช่วยบำรุงตับและไต แก้อ่อนล้า มีเบต้าแคโรทีนสูง Reviewed by Dusita Srikhamwong on ตุลาคม 19, 2562 Rating: 5

Post Comments

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.