เรื่องนี้เขียนไว้ดีมาก “คนสมัยนี้ชอบทำบุญ แต่กลับไร้น้ำใจ”




เรื่องนี้เขียนไว้ดีมาก “คนสมัยนี้ชอบทำบุญ แต่กลับไร้น้ำใจ”

คนเราส่วนใหญ่ชอบที่จะ ทำบุญ โดยมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป บางคนทำบุญ เพราะต้องการช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความลำบา ก บางคนทำบุญเพื่อหวังจะให้ตัวเองมีชีวิตที่ดีมากขึ้น

แล้วคุณคิดว่า จุดประสงค์ของการทำบุญนั้น จริงๆ แล้วคืออะไร และ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำสอนดีๆ จากเพจ ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล ที่เราได้รวบรวมข้อมูลมาให้ลองอ่านและคิดตามกันดู

ต้องเข้าใจคำว่า บุญ ให้ถูกต้องก่อน หากเราเข้าใจไม่ถูกต้อง แล้วมัวแต่สร้างวัด สร้างโบสถ์ สร้างหอระฆัง เพื่อหวังจะเกิดเป็นเทวดาในชาติหน้าหรือเป็นเศรษฐีในชาตินี้ ถ้าคิดอย่ างนี้อาจทำให้เกิดเป็นพฤติกรร มที่เรียกว่า ทำบุญหวังผล..

ซึ่งปัจจุบันนี้ มีคนประเภทนี้เป็นจำนวนมาก คือมุ่งทำบุญเฉพาะกับวัด แต่ไม่มีน้ำใจกับคน ไม่มีน้ำใจกับสัตว์ จิตไม่มีเมตตาอย่ างแท้จริง จึงเกิดเหตุการ ชอบทำบุญ แต่ไร้น้ำใจ เกิดขึ้นให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

เพราะ ถ้าจิตที่มีเมตตาอย่ างแท้จริงแล้ว ต้องพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้คน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นพระ หรือ เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แท้จริงแล้ว การทำบุญไม่ใช่การทำเพื่อหวังผล

เพื่อขอให้อย ากได้อย ากมีมากขึ้น แต่เพื่อให้รู้จักสละออกไป สิ่งไหนที่มีมากแล้วก็รู้จักแบ่งปันผู้อื่น ฝึกความเป็นผู้ให้ แบบนี้จึงจะเรียกว่าบุญ

คุณนายแก้ว เธอเป็นเจ้าของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งเธอเป็นคนที่ชอบทำบุญมาก มักจะเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าทอดกฐินอยู่บ่อยๆ..เวลาใครบอกบุญสร้างวัดสร้างโบสถ์ เธอไม่เคยปฏิเสธเลย เธอมีความภาคภูมิใจมากที่ได้ถวายเงินนับแสนสร้างหอระฆังถวายวัดข้างโรงเรียน

อยู่มาวันหนึ่ง เธอได้ทราบว่า มีนักเรียนคนหนึ่งในโรงเรียนของเธอ ไม่มีเงินจ่ายค่าเล่าเรียนค้างชำระมาสองเทอมแล้ว เธอจึงตัดสินใจไล่นักเรียนคนนั้นออกจากโรงเรียนทันที อย่ างไม่ลังเลสายใจ พาป้าวัย 70 และเพื่อนซึ่งมีขา พิ ก า ร ไปถวายภัตตาหารเช้าที่วัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีเจ้าอาวาสเป็นที่ศรัทธานับถือของประชาชนไปทั่ว ในเช้าวันนั้นมีคนมาทำบุญกันอย่ างเนืองแน่น จนลานจอดรถเต็มหมด

เมื่อได้เวลาพระฉัน ญาติโยมก็พากันกลับ สายใจพาหญิงชรา และ เพื่อนผู้ พิ ก า ร เดินกะย่องกะแย่งตากแดดกล้าไปยังถนนใหญ่เพื่อขึ้นรถประจำทางกลับบ้าน..

ระหว่างนั้นมีรถเก๋งหลายสิบคันแล่นผ่านไป แต่ตลอดเส้นทางเกือบ 3 กิโลเมตร ไม่มีผู้ใจบุญคนใดรับขึ้นรถเพื่อไปส่งถนนใหญ่เลยเหตุการณ์ทำนองนี้ มิใช่เป็นเรื่องแปลกประหลาดในสังคมปัจจุบัน ชอบทำบุญแต่ไร้น้ำใจ เป็นพฤติกรร มที่พบเห็นได้ทั่วไป

ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า เรานับถือศาสนากันอย่ างไร จึงมีพฤติกรร มแบบนี้กันมาก เหตุใดการนับถือศาสนา จึงไม่ช่วยให้คนมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะผู้ที่ทุก ข์ย าก การทำบุญ ไม่ช่วยให้เรามีเมตตา รู้จักแบ่งปัน หรือ กรุณาต่อผู้อื่นเลยหรือ

หากสังเกตดีๆ จะพบว่า การทำบุญของเรานั้น มักจะกระทำต่อสิ่งที่อยู่สูงกว่าตน เช่น พระภิกษุสงฆ์ วัดวาอาราม พระพุทธเจ้า เป็นต้น แต่กับสิ่งที่ถือว่าอยู่ต่ำกว่าตน

เช่น คนย ากจ น หรือ สั ต ว์ น้อยใหญ่ เรากลับละเลยกันมาก แม้แต่เวลาไปทำบุญที่วัด เราก็มักละเลยสามเณร แม่ชี และ พระบวชใหม่ แต่กุลีกุจอเต็มที่กับพระที่มีชื่อเสียง

อะไรทำให้เราชอบทำบุญกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าตนใช่หรือไม่ว่าเป็นเพราะเราเชื่อว่าสิ่งสูงส่งเหล่านั้น สามารถบันดาลความสุข หรือให้สิ่งดี ๆ ที่พึงปรารถนากับเราได้ เช่น ถ้าทำอาหารถวายพระ บริจาคเงินสร้างวัด หรือพระพุทธรูป ก็จะได้รับความมั่งมีศรีสุข มีอายุ วรรณะ สุข พละ หรือ ช่วยให้มีความสุขสบายมากขึ้นในชาติหน้า

ดังนั้น ยิ่งทำบุญด้วยท่าทีแบบนี้ ก็ยิ่งเห็น แ ก่ ตั ว มากขึ้น เพราะ ไม่ได้ทำด้วยจิตใจที่เป็นบุญ แต่ทำบุญเพราะหวังผล หวังแต่จะได้คืนมามากกว่า ผลคือจิตใจยิ่งคับแค บ ความเมตตา กรุณาต่อผู้ทุก ข์ย าก มีแต่จะน้อยลง ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การทำบุญแบบนี้ กลับจะทำให้ได้บุญน้อยลง..

ยิ่งถ้าทำบุญ 100 บาท เพราะหวังจะได้เงินล้าน บุญที่เกิดขึ้นย่อมน้อยลงไปอีก เพราะใช่หรือไม่ว่า นี่เป็นการ ค้ า กำ ไ ร เ กิ น ค ว รดังนั้น เมื่อใดที่เราเห็นคนทุก ข์ย าก ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน อย่ าได้เบือนหน้าหนี ขอให้เราเปิดใจรับรู้ความทุก ข์ของเขา แล้วถามตัวเองว่า เราจะช่วยเขาได้หรือไม่ และ อย่ างไร เพราะนี้คือโอกาสดีที่เราจะได้ทำบุญ ลดละอัตตาตัวตน จิตที่เป็นกุศลจึงจะได้บุญอย่ างแท้จริง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทาน ที่มีอานิสงส์ไม่มาก ก็คือ ทานที่ให้ด้วยใจที่มีเยื่อใย หวังสั่งสมบุญ หรือหวังเสวยสุขในภพหน้า ถ้าผู้ที่ทำบุญยังมีจิตใจแบบนั้นอยู่ ก็จะไม่ได้อานิสงค์มากเท่าที่ควรจะเป็น การทำบุญ โดยไม่หวังผลของบุญ จึงจะเรียกว่า การทำบุญ ที่ถูกต้อง


ที่มา : siamama


เรื่องนี้เขียนไว้ดีมาก “คนสมัยนี้ชอบทำบุญ แต่กลับไร้น้ำใจ” เรื่องนี้เขียนไว้ดีมาก “คนสมัยนี้ชอบทำบุญ แต่กลับไร้น้ำใจ” Reviewed by Dusita Srikhamwong on มกราคม 07, 2563 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.