ต้นสาบเสือ สมุนไพรช่วยสมานแผล ถอนพิษแก้อักเสบ แก้พิษน้ำเหลือง แก้ตาฟาง




ต้นสาบเสือ สมุนไพรช่วยสมานแผล ถอนพิษแก้อักเสบ แก้พิษน้ำเหลือง แก้ตาฟาง

ต้นสาบเสือ จัดเป็นวัชพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง โดยมีเขตแพร่กระจายตั้งแต่ทางตอนใต้ของรัฐฟลอริดาไปจนถึงทางตอนเหนือของประเทศอาร์เจนตินา และระบาดทั่วไปในเขตร้อนทั่วทุกทวีป (ยกเว้นการระบาดเข้าไปในทวีปออสเตรเลีย ซึ่งจะพบได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา) โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นพืชที่แตกกิ่งก้านสาขามากจนเหมือนทรงพุ่ม กิ่งก้านและลำต้นจะปกคลุมไปด้วยขนนุ่มอ่อน ๆ มีลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร

ใบสาบเสือ มีใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นที่ข้อแบบตรงกันข้าม ใบมีสีเขียวอ่อน ลักษณะของใบคล้ายรูปรีทรงรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง ใบเรียวสอบเข้าหากัน มีขอบใบหยัก ที่ใบเห็นเส้นชัดเจน 3 เส้น ผิวใบทั้งสองด้านมีขนอ่อนปกคลุม ใบและก้านเมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นแรงคล้ายกลิ่นสาบเสือ

ดอกสาบเสือออกเป็นช่อ มีสีขาวหรือสีฟ้าอมม่วง มีดอกย่อยประมาณ 10-35 ดอก โดยดอกวงนอกจะบานก่อนดอกวงใน ที่กลีบดอกหลอมรวมกันเป็นหลอด

ผลสาบเสือเป็นผลขนาดเล็ก มีรูปร่างคล้ายรูปห้าเหลี่ยม มีสีน้ำตาลหรือสีดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ที่ปลายผลมีขนสีขาว ช่วงพยุงให้ผลและเมล็ดสามารถปลิวตามลมได้

สาเหตุที่ได้ชื่อว่า สาบเสือ ก็เพราะว่าดอกของสมุนไพรชนิดนี้จะไม่มีกลิ่นหอมเลย แต่จะมีแต่กลิ่นสาบคล้ายสาบเสือ คนโบราณเวลาวิ่งหนีสัตว์ดุร้ายจะวิ่งเข้าดงสาบเสือเพื่อช่วยอำพรางให้ปลอดภัย เพราะสัตว์จะไม่ได้กลิ่นคน และยังมีการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านของสรรพคุณทางยามากมาย โดยส่วนที่นำมาก็มีทั้งจากต้น ใบ ดอก ราก เป็นต้น

สรรพคุณของสาบเสือ

1. ดอกสาบเสือมีสรรพคุณช่วยชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย (ดอก)
2. ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
3. ช่วยแก้ตาฟาง ตาแฉะ (ใบ)
4. ช่วยแก้กระหายน้ำ (ดอก)
5. ดอกช่วยแก้ไข้ (ดอก)
6. รากสาบเสือใช้ผสมกับรากมะนาวและรากย่านาง นำมาต้มเป็นน้ำดื่มช่วยรักษาไข้ป่าได้ (ราก)
7. ดอกใช้เป็นยาแก้ร้อนใน (ดอก)
8. ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง อาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ (ต้น)
9. รากสาบเสือนำมาใช้ต้มเป็นน้ำดื่มช่วยแก้โรคกระเพาะได้ (ราก)
10. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ใบ)
11. ใบนำมาใช้ต้มอาบช่วยแก้ตัวบวมได้ (ใบ)
12. ช่วยแก้บวม (ต้น)
13. ช่วยดูดหนอง (ต้น)
14. สารสกัดจากกิ่งและใบมีสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Bacillus subtilis ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหนอง (ใบ)
15. ช่วยแก้พิษน้ำเหลือง (ใบ)
16. ช่วยถอนพิษแก้อักเสบ (ใบ)
17. ใบใช้ในการห้ามเลือด ด้วยการใช้ใบนำมาโขลกและขยี้ แล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล ก็จะช่วยห้ามเลือดได้เป็นอย่างดี เพราะสาบเสือมีสารสำคัญหลายอย่างที่มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดหดตัว และไปช่วยกระตุ้นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วยิ่งขึ้น แต่อาจจะแสบมาก ๆ แต่เมื่อแผลหายแล้วจะช่วยป้องกันแผลเป็นได้อีกด้วย (ใบ)
18. ใช้สมานแผล ช่วยป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น (ใบ)
19. ช่วยรักษาแผลเปื่อย (ใบ)
20. ทั้งต้นของสาบเสือ ใช้เป็นยาแก้บาดทะยัก (ทั้งต้น)


นอกจากนี้เรายังใช้ต้นสาบเสือเป็นตัวชี้วัดอุณหภูมิความแห้งแล้งของอากาศ ถ้าหากอากาศไม่แล้ง ต้นสาบเสือก็จะไม่ออกดอกนั่นเอง สูตรยาโบราณ

สาบเสือมีสารสำคัญคือ พีนีน คูมาริน เนบโธควิโนน ลิโมนีน ยูพาทอล ฟาโวน คาไดอีน แคมเฟอร์ ซึ่งสารเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการไล่แมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ เช่น เพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก และแมลงศัตรูในโรงเก็บ ป้องกันโรคเชื้อราและแบคทีเรีย

วิธีการใช้ นำเอาใบและต้นมาผึ่งลมให้แห้ง บดเป็นผง แช่น้ำ 400 กรัม/น้ำ 3 ลิตร ถ้าใบอย่างเดียว 400 กรัม/น้ำ 8 ลิตร กวนตั้งทิ้งไว้ค้างคืน กรองเอากากออกนำมาฉีดพ่นทุก 7 วัน ป้องกันและไล่หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก ถ้าหมักด้วยเหล้าขาว 24 ชม.(500กรัม/เหล้า 1 ลิตร) หมักค้างคืนกรองมาใช้กำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย นอกจากนี้ ใบสด 10 กรัม ผสมกับใบแห้ง 30 กรัมบดให้ละเอียด แล้วนำมาคลุกถั่วเขียว 100 กรัม สามารถป้องกันกำจัดแมลงด้วงถั่วเขียวและมอดข้าวสารได้

สาบเสือมีสรรพคุณทางยามากมายทั้งจากต้น ใบ ดอก ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้ ต้น เป็นยาแก้ ปวดท้องท้องขึ้น ท้องเฟ้อแก้บวม ดูดหนอง แล้วนอกจากนี้ ใบสาบเสือ ยังมีฤทธิ์ พิชิตปลวกได้อีกด้วยใบของสาบเสือมีสารสำคัญคือ กรดอะนิสิก และฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น ไอโซซากูรานิติน และโอโดราตินนอกจากนี้ยังมีสารพวกน้ำมันหอมระเหย

ซึ่งประกอบไปด้วยสารยูพาทอล คูมาริน โดยสารสำคัญเหล่านี้จะไปออกฤทธิ์ที่ผนังเส้นเลือดทำให้เส้นเลือดหดตัว และนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไปกระตุ้นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น ทำให้สามารถห้ามเลือดได้ ใช้เป็นยารักษาแผลสด สมานแผล ถอนพิษแก้อักเสบ แก้พิษน้ำเหลือง แก้ตาฟาง แก้ตาแฉะ แก้ริดสีดวงทวารหนัก รักษาแผลเปื่อย ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียใช้ยาต้มที่ใส่ใบใช้เป็นยาขับปัสสาวะ

สาบเสือเป็นพืชล้มลุกขึ้นกลางแจ้ง เจริญงอกงามได้รวดเร็ว แตกกิ่งก้านสาขามากจนดูเป็นพุ่ม ใบเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีขนปกคลุมทั่วใบ ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะเป็นกระจุก

ผลทางเภสัชวิทยาน้ำต้มสกัดจากใบและต้น มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เล็กที่แยกออกจากตัวของหนูตะเภา แต่ลดการบีบตัวของลำไส้เล็กที่แยกออกจากตัวของกระต่าย น้ำต้มสกัดและผลึกสารที่สกัดได้จากต้นนี้ ไม่มีผลอย่างเด่นชัดต่อมดลูกที่แยกออกจากตัวของกระต่าย หากนำไปฉีดเข้าช่องท้องของหนูเล็ก พบมีความเป็นพิษเพียงเล็กน้อย


ที่มา...https://www.partiharn.com/contents/22938


ต้นสาบเสือ สมุนไพรช่วยสมานแผล ถอนพิษแก้อักเสบ แก้พิษน้ำเหลือง แก้ตาฟาง ต้นสาบเสือ สมุนไพรช่วยสมานแผล ถอนพิษแก้อักเสบ แก้พิษน้ำเหลือง แก้ตาฟาง Reviewed by Dusita Srikhamwong on กันยายน 30, 2562 Rating: 5

Post Comments

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.