เรื่องนี้ดีอ่านแล้วได้ข้อคิด ชอบทำบุญแต่ไร้น้ำใจ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนี้
คนเราส่วนใหญ่ชอบที่จะ ” ทำบุญ “ โดยมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป บางคนทำบุญ เพราะต้องการช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความลำบา ก บางคนทำบุญเพื่อหวังจะให้ตัวเองมีชีวิตที่ดีมากขึ้น แล้วคุณคิดว่า จุดประสงค์ของการทำบุญนั้น จริงๆแล้วคืออะไร…? และ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำสอนดีๆจากเพจ ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล ที่เราได้รวบรวมข้อมูลมาให้ลองอ่านและคิดตามกันดู
ต้องเข้าใจคำว่า ‘บุญ’ ให้ถูกต้องก่อน… หากเราเข้าใจไม่ถูกต้อง แล้วมัวแต่สร้างวัด สร้างโบสถ์ สร้างหอระฆัง เพื่อหวังจะเกิดเป็นเทวดาในชาติหน้าหรือเป็นเศรษฐีในชาตินี้ ถ้าคิดอย่างนี้อาจทำให้เกิดเป็นพฤติกรรมที่เรียกว่า ” ทำบุญหวังผล “
ซึ่งปัจจุบันนี้ มีคนประเภทนี้เป็นจำนวนมาก คือมุ่งทำบุญเฉพาะกับวัด แต่ไม่มีน้ำใจกับคน ไม่มีน้ำใจกับสัตว์ จิตไม่มีเมตตาอย่างแท้จริง จึงเกิดเหตุการ ” ชอบทำบุญ แต่ไร้น้ำใจ “ เกิดขึ้นให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง
เพราะ ถ้าจิตที่มีเมตตาอย่างแท้จริงแล้ว ต้องพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้คน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นพระ หรือ เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แท้จริงแล้ว การทำบุญไม่ใช่การทำเพื่อหวังผล เพื่อขอให้อยากได้อยากมีมากขึ้น แต่เพื่อให้รู้จักสละออกไป สิ่งไหนที่มีมากแล้วก็รู้จักแบ่งปันผู้อื่น ฝึกความเป็นผู้ให้ แบบนี้จึงจะเรียกว่าบุญ
” คุณนายแก้ว “ เธอเป็นเจ้าของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งเธอเป็นคนที่ชอบทำบุญมาก มักจะเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าทอดกฐินอยู่บ่อยๆ เวลาใครบอกบุญสร้างวัดสร้างโบสถ์ เธอไม่เคยปฏิเสธเลย เธอมีความภาคภูมิใจมากที่ได้ถวายเงินนับแสนสร้างหอระฆังถวายวัดข้างโรงเรียน
อยู่มาวันหนึ่ง เธอได้ทราบว่า มีนักเรียนคนหนึ่งในโรงเรียนของเธอ ไม่มีเงินจ่ายค่าเล่าเรียนค้างชำระมาสองเทอมแล้ว เธอจึงตัดสินใจไล่นักเรียนคนนั้นออกจากโรงเรียนทันที อย่างไม่ลังเล
“สายใจ” พาป้าวัย 70 และเพื่อนซึ่งมีขา พิ ก า ร ไปถวายภัตตาหารเช้าที่วัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีเจ้าอาวาสเป็นที่ศรัทธานับถือของประชาชนไปทั่ว ในเช้าวันนั้นมีคนมาทำบุญกันอย่างเนืองแน่น จนลานจอดรถเต็มหมด เมื่อได้เวลาพระฉัน ญาติโยมก็พากันกลับ สายใจพาหญิงชรา และ เพื่อนผู้ พิ ก า ร เดินกะย่องกะแย่งตากแดดกล้าไปยังถนนใหญ่เพื่อขึ้นรถประจำทางกลับบ้าน
ระหว่างนั้นมีรถเก๋งหลายสิบคันแล่นผ่านไป แต่ตลอดเส้นทางเกือบ 3 กิโลเมตร ไม่มีผู้ใจบุญคนใดรับขึ้นรถเพื่อไปส่งถนนใหญ่เลย เหตุการณ์ทำนองนี้ มิใช่เป็นเรื่องแปลกประหลาดในสังคมปัจจุบัน “ชอบทำบุญแต่ไร้น้ำใจ” เป็นพฤติกรรมที่พบเห็นได้ทั่วไป
ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า เรานับถือศาสนากันอย่างไร จึงมีพฤติกรรมแบบนี้กันมาก เหตุใดการนับถือศาสนา จึงไม่ช่วยให้คนมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะผู้ที่ทุก ข์ยาก การทำบุญ ไม่ช่วยให้เรามีเมตตา รู้จักแบ่งปัน หรือ กรุณาต่อผู้อื่นเลยหรือ
หากสังเกตดีๆจะพบว่า การทำบุญของเรานั้น มักจะกระทำต่อสิ่งที่อยู่สูงกว่าตน เช่น พระภิกษุสงฆ์ วัดวาอาราม พระพุทธเจ้า เป็นต้น แต่กับสิ่งที่ถือว่าอยู่ต่ำกว่าตน เช่น คนยากจ น หรือ สั ต ว์ น้อยใหญ่ เรากลับละเลยกันมาก แม้แต่เวลาไปทำบุญที่วัด เราก็มักละเลยสามเณร แม่ชี และ พระบวชใหม่ แต่กุลีกุจอเต็มที่กับพระที่มีชื่อเสียง
อะไรทำให้เราชอบทำบุญกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าตน…?
ใช่หรือไม่ว่าเป็นเพราะเราเชื่อว่าสิ่งสูงส่งเหล่านั้น สามารถบันดาลความสุข หรือให้สิ่งดี ๆ ที่พึงปรารถนากับเราได้ เช่น ถ้าทำอาหารถวายพระ บริจาคเงินสร้างวัด หรือพระพุทธรูป ก็จะได้รับความมั่งมีศรีสุข มีอายุ วรรณะ สุข พละ หรือ ช่วยให้มีความสุขสบายมากขึ้นในชาติหน้า
ดังนั้น ยิ่งทำบุญด้วยท่าทีแบบนี้ ก็ยิ่งเห็น ‘ แ ก่ ตั ว ‘ มากขึ้น เพราะ ไม่ได้ทำด้วยจิตใจที่เป็นบุญ แต่ทำบุญเพราะหวังผล หวังแต่จะได้คืนมามากกว่า…!!
ผลคือจิตใจยิ่งคับแค บ ความเมตตา กรุณาต่อผู้ทุก ข์ยาก มีแต่จะน้อยลง ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การทำบุญแบบนี้ กลับจะทำให้ได้บุญน้อยลง
ยิ่งถ้าทำบุญ 100 บาท เพราะหวังจะได้เงินล้าน บุญที่เกิดขึ้นย่อมน้อยลงไปอีก เพราะใช่หรือไม่ว่า นี่เป็นการ “ ค้ า กำ ไ ร เ กิ น ค ว ร ”
ดังนั้น เมื่อใดที่เราเห็นคนทุก ข์ยาก ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน อย่าได้เบือนหน้าหนี ขอให้เราเปิดใจรับรู้ความทุก ข์ของเขา แล้วถามตัวเองว่า เราจะช่วยเขาได้หรือไม่ และ อย่างไร เพราะนี้คือโอกาสดีที่เราจะได้ทำบุญ ลดละอัตตาตัวตน จิตที่เป็นกุศลจึงจะได้บุญอย่างแท้จริง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ‘ ทาน ‘ ที่มีอานิสงส์ไม่มาก ก็คือ…
ทานที่ให้ด้วยใจที่มีเยื่อใย หวังสั่งสมบุญ หรือหวังเสวยสุขในภพหน้า
ถ้าผู้ที่ทำบุญยังมีจิตใจแบบนั้นอยู่ ก็จะไม่ได้อานิสงค์มากเท่าที่ควรจะเป็น
” การทำบุญ ” โดยไม่หวังผลของบุญ จึงจะเรียกว่า ” การทำบุญ ” ที่ถูกต้อง
ขอขอบคุณข้อคิดดีๆจาก : พระไพศาล วิสาโล
เรื่องนี้ดีอ่านแล้วได้ข้อคิด ชอบทำบุญแต่ไร้น้ำใจ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนี้
Reviewed by Dusita Srikhamwong
on
มกราคม 02, 2563
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: