ปลูกสร้างอาชีพสู้วิกฤติ 10 พืชทนแล้ง ใช้น้ำน้อย ตลาดต้องการสูงตลอดปี




ปลูกสร้างอาชีพสู้วิกฤติ 10 พืชทนแล้ง ใช้น้ำน้อย ตลาดต้องการสูงตลอดปี

“น้ำ” ถือเป็นปัจจัยหลักสำหรับการทำการปลูกพืชและการทำเกษตรโดยทั่วไป และเนื่องจากปีนี้บ้านเราอยู่ในภาวะที่ประสบ ปั ญ ห า ภั ย แล้ง ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา กลุ่มเกษตรกรถือว่าได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะชาวนาผู้ผลิตข้าวทั่วประเทศ เพราะข้าวถือเป็นพืชที่มีความต้องการน้ำมากในการเจริญเติบโต

ดังนั้นเกษตรกรยุค 4.0 ควรจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ แทนที่เราจะนั่งรอฟ้าฝนจากเทวดาไปวันๆ ลองหันมาศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพืชที่ใช้น้ำน้อย ทนแล้งไว้ด้วยก็จะดีครับ

ในวันนี้จึงมีสาระดีมาฝากครับ นั่นก็คือ อยากขอแนะนำพันธุ์พืช 10 ชนิดที่ใช้น้ำน้อย ทนแล้ง ราคาดี ตลาดต้องการสูง เผื่อจะเป็นไอเดียนำไปต่อยอดในการทำการเกษตรในภาวะแห้งแล้งแบบนี้ มาดูกันครับว่ามีพืชชนิดใดบ้าง ที่ต้องการน้ำน้อยในการเจริญเติบโต

1. ข่า

ข่าเป็นพืชที่นิยมปลูกโดยทั่วไปในทุกภาค แทบจะมีอยู่ทุกครัวเรือน แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ข่าที่นิยมปลูกทุกครัวเรือนนี่แหละ กลับยังคงมีความต้องการของตลาดสูงมาก นอกจากจะจำหน่ายตามตลาดผักทั่วไปแล้ว ข่ายังถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเทศ ทั้งในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศครับ ที่สำคัญ “ข่า” นั้นปลูกง่าย ทนแล้ง เจริญเติบโตได้ทุกสภาพดิน ขอแค่อย่าให้น้ำขังแค่นั้นเอง

2. มะละกอ

มะละกอนับเป็นอีกพืชถูกใช้ในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศเราในปริมาณสูง เพราะคนไทยนิยมรับประทานส้มตำ ซึ่งส่วนประกอบหลักก็คือมะละกอ มะละกอจัดเป็นพืชล้มลุก ที่ใช้น้ำน้อย ทนแล้ง ปลูกได้ทุกสภาพดิน ออกผลผลิตตลอดทั้งปี จำหน่ายได้ทั้งลูกดิบและสุก ตลาดต้องการตลอดเวลา

3. งาดำ

งาดำ นับเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่มีการปลูกน้อย ผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ราคารับซื้อค่อนข้างสูงและคงที่ตลอด ทนแดดทนแล้ง ใช้น้ำน้อยในการเจริญเติบโตจนถึงเก็บเกี่ยว เกษตรกรที่สนใจ สามารถหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อวางแผนปลูกได้ครับ

4. ข้าวโพด

เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทางหน่วยงานรัฐแนะนำและสนับสนุนให้ปลูกตลอดมา เพราะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ โดยเกษตรกรสามารถเลือกปลูกได้ทั้ง ข้าวโพดสำหรับอาหารคนและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลูกง่าย ใช้น้ำน้อย และทนแล้งได้ดี

5. พืชตระกูลถั่ว

พืชตระกูลถั่วแทบทุกชนิด ยกเว้นหางนกยูง เป็นพืชที่ทนแล้ง ปลูกง่าย ดูแลไม่ยาก ที่สำคัญความต้องการของตลาดมีสูงตลอดเวลา จึงเป็นอีกพืชที่แนะนำให้ปลูกในภาวะน้ำแล้ง ฝนน้อยแบบนี้

6. ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ เป็นพืชทำเงินมายาวนาน ตลาดต้องการสูง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ปัจจุบันมีหลากหลายสายพันธุ์ ที่เกษตรกรสามารถเลือกปลูกได้เหมาะสมกับพื้นที่ แต่ว่านหางจระเข้ทุกชนิด เป็นพืชที่ทนแล้งใช้น้ำน้อยมากในการเจริญเติบโต

7. สะเดา

เป็นอีกหนึ่งพันธุ์พืช ที่มีความต้องการของตลาดสูงตลอดปี คนไทยนิยมบริโภค มีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่สำคัญสะเดานั้นใช้น้ำน้อยมาก ทนทานต่อสภาพอากาศและดินที่แห้งแล้ง

8. ไผ่ตงลืมแล้ง

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “ลืมแล้ง” ซึ่งก็เพราะไผ่ชนิดนี้ ใช้น้ำในการเจริญเติบโตน้อยมาก ปลูกไว้ตามหัวไร่ปลายนา ให้เทวดาดูแลก็ยังมีหน่อให้กินตลอดปี

9. ดาวเรือง

ในช่วง 4-5 ปี มานี้ ดาวเรืองได้รับความนิยมมากในประเทศไทย เนื่องจากดาวเรืองถูกนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม ทั้งอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และตลาดหลักๆก็คือใช้ในวงการไม้ดอกไม้ประดับ รวมถึงนิยมนำไปร้อยพวงมาลัยบูชาต่างๆ ดาวเรืองนั้นทนแล้งและใช้น้ำไม่มากในการปลูก จึงเหมาะมากในสภาวะที่แห้งแล้งฝนน้อยแบบนี้

10. มันสำปะหลัง

มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวที่มีการปลูกในประเทศมานับ 40 ปี ตลาดต้องการตลอดเวลา ในขณะที่จำนวนพื้นที่ปลูกกลับลดลงต่อเนื่อง ข้อดีของพืชชนิดนี้เป็นที่ทราบโดยทั่วกัน นั่นก็คือตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต ไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการใดๆเลย ทนแล้งได้ดีเยี่ยม

เป็นอย่างไรบ้างครับ กับ 10 พันธุ์พืชทนแล้ง ใช้น้ำน้อยในการผลิต ที่แนะนำในวันนี้ ความจริงแล้วยังมีพืชอีกหลายชนิดที่ไม่ได้กล่าวถึง ผมอยากให้เพื่อนสมาชิกเกษตรกรยุค 4.0 อย่างพวกเรา ลองสังเกตุด้วยตัวเองครับ ว่าในช่วงที่แห้งแล้ง หรือหน้าร้อน ดูดีๆครับ ว่ามีพืชชนิดไหนบ้างในพื้นที่ ที่ยังคงเจริญเติบโต ใบเขียวกว่าพืชอื่นๆ

แล้วลองนำไปพิจารณาคุณสมบัติอื่นประกอบ ทั้งเรื่องตลาดและความคุ้มค่าในการผลิต หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้ให้ท่านนำไปต่อยอดไอเดียได้ไม่น้อย ไม่แน่ว่าเกษตรกรเงินล้านคนต่อไปอาจเป็นคุณก็ได้นะครับ


ข่าวโดย.คนมีสาระ
ที่มา...https://meesara.club/6878/30/


ปลูกสร้างอาชีพสู้วิกฤติ 10 พืชทนแล้ง ใช้น้ำน้อย ตลาดต้องการสูงตลอดปี ปลูกสร้างอาชีพสู้วิกฤติ 10 พืชทนแล้ง ใช้น้ำน้อย ตลาดต้องการสูงตลอดปี Reviewed by Dusita Srikhamwong on เมษายน 23, 2563 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.