ล้มแล้วต้องรีบลุก 10 สิ่งที่ควรทำหลังโดนให้ออกจากงาน หรือทำเมื่อตกงาน




ล้มแล้วต้องรีบลุก 10 สิ่งที่ควรทำหลังโดนให้ออกจากงาน หรือทำเมื่อตกงาน

สำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคน สิ่งที่ไม่อย ากพบเจอมากที่สุดก็คือ การตกงาน หรือการถูกเลิกจ้าง เพราะนอกจากจะทำให้เสียรายได้ และเสียโอกาสไปแล้ว สมัยนี้งานดี ๆ ก็ไม่ได้หากันง่าย ๆ

แต่ถ้าหากคุณต้องพบกับเหตุการณ์เหล่านั้นขึ้นมาโดยไม่ทันตั้งตัว สิ่งที่ควรทำไม่ใช่การมานั่งเสียใจ หรือตีอกชกตัวให้รู้สึกเจ็บใจมากขึ้นไปกว่าเดิม แต่ควรตั้งสติแล้วเริ่มทำทั้ง 10 สิ่งที่เราหยิบมาแนะนำกันในวันนี้ อย่ าปล่อยให้ตัวเองจมปลักอยู่กับความผิดหวัง ในเมื่อเราสามารถลุกขึ้นมาเริ่มต้นใหม่ได้

1. ควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้ได้

แน่นอนล่ะว่าคงไม่มีใครสามารถทำให้ตัวเองใจเย็นได้หลังจากที่รู้ว่าตัวเองต้องตกงาน แต่การควบคุมอารมณ์ให้ได้มากที่สุดก็เป็นหนึ่งวิธีที่จะทำให้คุณตั้งสติได้ไวขึ้น

และรู้ว่าคุณควรจะทำอะไรต่อไป แม้ว่าในตอนนั้นคุณอาจจะเต็มไปด้วยความรู้สึกโกรธ ผิดหวัง เสียใจ ท้อแท้ แต่ก็มีแค่คุณเท่านั้นที่จะช่วยพยุงตัวเองให้ลุกขึ้นมาได้ใหม่ ฉะนั้นดึงสติตัวเองกลับมาเดี๋ยวนี้เลย รับรองว่าคุณจะได้มองเห็นหนทางดี ๆ ที่ตอนแรกคุณอาจจะมองไม่เห็นอย่ างแน่นอน

2. รักษาสิทธิ์ของตัวเอง

ถึงแม้จะถูกเลิกจ้าง แต่ก็ใช่ว่าคุณจะไม่มีสิทธิ์ในฐานะลูกจ้าง คุณไม่ควรปล่อยให้ทุกอย่ างจบไปโดยที่คุณอาจจะเสียเปรียบ กลับไปอ่ า นสัญญาการว่าจ้างที่คุณเคยเซ็นตอนเริ่มงาน

และกลับมาถามในสิ่งที่คุณพึงได้จากการออกจากงานในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นใบรับรองผ่านงาน กองทุนสำรอง เงินสะสม ประกันสุขภาพ หรือเงินชดเชย คุณควรถามให้ละเอียด เพราะไม่มีใครสามารถรักษาสิทธิ์ของคุณได้ดีเท่ากับตัวคุณเองแน่นอน

3. อย่ ามัวตำหนิคนอื่น แต่จงมองข้อผิดพลาดของตนเอง

หลาย ๆ คนที่ถูกไล่ออกจากงานก็มักจะเอาแต่คิดและตำหนิหัวหน้าหรือที่ทำงานเก่า รวมทั้งมองหาข้อผิดพลาดของพวกเขาเหล่านั้นเพื่อเป็นการปลอบใจตัวเอง

แต่ถ้าทำแบบนั้นคุณจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง และถ้าหากได้งานใหม่ก็อาจจะทำให้คุณมีจุดจบแบบเดิม ๆ ดังนั้นหยุดอวยตัวเอง หันมามองถึงข้อผิดพลาดของตนเอง นำข้อผิดพลาดเหล่านั้นมาเป็นบทเรียนและปรับปรุงตัวเองเพื่อรอรับสิ่งใหม่ ๆ กันดีกว่า

4. แชทหาหรือโทรไปขอบคุณเพื่อนร่วมงาน

แม้ว่าสุดท้ายระหว่างคุณกับที่ทำงานจะจบกันไม่สวย แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่คุณจะไม่ไยดีในสิ่งที่ผ่านมา ลองใช้เวลานึกทบทวนในสิ่งดี ๆ ที่คุณเคยได้รับจากหัวหน้า

และเพื่อนร่วมงานของคุณสิ แล้วลองแชทหรือโทรไปขอบคุณพวกเขา แม้ว่าในที่สุดจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้แล้ว แต่บางทีการคงเหลือมิตรภาพในฐานะคนธรรมดาคนหนึ่งก็ย่อมดีกว่า และไม่แน่ว่าในวันหนึ่งเพื่อนร่วมงานของคุณอาจจะเป็นคนหยิบยื่นโอกาสในการทำงานดี ๆ ให้คุณก็ได้นะ

5. ปรับปรุงเรซูเม่

หลายคนเมื่อยังทำงานอยู่ก็ไม่เคยนึกจะสนใจกับเรซูเม่ของตนเอง จนกระทั่งถึงเวลาที่จะต้องใช้อีกครั้งนี่ล่ะ ดังนั้นหากในวันหนึ่งที่คุณเกิดตกงานละก็ ก่อนที่จะเริ่มหางานใหม่

คุณควรให้เวลากับการปรับปรุงเรซูเม่อันเดิมของคุณเสียก่อน เพิ่มเติมข้อมูลของงานที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นขอบเขตของงาน ผลงานที่คุณเคยทำ ถ้าคิดอย ากจะเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ ๆ ก็อย่ าลืมเติมความสนใจใหม่ ๆ ลงไปด้วย หรือถ้าคุณคิดว่ารูปแบบเรซูเม่ของคุณเริ่มจะล้าสมัยเกินไป ก็ทำขึ้นมาใหม่เลย เท่านี้ก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้คุณหางานใหม่ได้ง่ายขึ้นไปอีกนิดแล้วล่ะ

6. จัดระเบียบรายรับ-รายจ่ายเสียใหม่

เมื่อตอนที่ยังทำงานอยู่ จะใช้จ่ายอะไรก็ดูจะไม่ขัดสนมากนัก แต่เมื่อคุณตกอยู่ในสภาพคนว่างงานที่ไม่มีรายได้ การใช้เงินแบบเดิม ๆ จะทำให้คุณลำบากอย่ างไม่ต้องสงสัย

ดังนั้นคุณควรให้เวลาในการจดบันทึกรายจ่ายของคุณที่เคยผ่านมา ดูว่าตรงไหนที่จำเป็น และตรงไหนที่ควรตัดทิ้ง การรัดเข็มขัดเป็นสิ่งที่ดีที่สุด หากคุณทำได้ นอกจากจะช่วยให้คุณไม่ลำบากจนเกินไปแล้ว ก็เป็นการเปลี่ยนนิสัยการใช้เงินของคุณในระยะย าวด้วย

7. มองหาโอกาสใหม่ ๆ

สำหรับบางคนการออกจากงานที่เก่าก็อาจจะไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ทำงานไปในแต่ละวันโดยที่ไม่ได้ชอบงานที่ทำอยู่จริง ๆ

หรือมีความฝันที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองชอบแต่ไม่มีเวลาจริง ๆ จัง ๆ เสียที ดังนั้นใช้เวลานี้ให้เป็นประโยชน์ ลองหาโอกาสใหม่ ๆ ทบทวนความฝันที่เคยพับเก็บไปเพราะการทำงาน นำมันออกมาปัดฝุ่นแล้วเริ่มทำซะ ไม่มีอะไรสายไปหรอกนะ ถ้าหากตั้งใจจะเริ่มทำจริง ๆ

8. ใช้เวลากับตัวเองให้มากขึ้น

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ จนพักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือไม่มีเวลาแม้แต่จะออกกำลังกาย จงใช้เวลาตอนนี้ให้คุ้มค่า อย่ ามองว่าเวลาที่ว่างลงเพราะไม่ได้ทำงานจะเป็นเรื่องเ ล วร้ า ย คิดเสียว่าตัวเองได้พักผ่อนเพื่อดูแลตัวเองให้มากขึ้น นอกจากนี้อย่ าปล่อยให้ตัวเองอยู่บ้านเฉย ๆ เด็ดขาด แต่ควรหาอะไรทำให้ตัวเองไม่ว่าง จะได้ไม่คิดฟุ้งซ่านไงล่ะ

9. เช็กสิทธิ์ประกันสังคม

สำหรับคนที่ทำงานมาเป็นเวลานาน ๆ หลายปี หากวันหนึ่งคุณต้องออกจากงานแบบกะทันหัน สิ่งที่คุณควรทำเป็นอันดับแรกก็คือตรวจสอบสิทธิ์ที่คุณพึงได้รับจากสำนักงานประกันสังคม

อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนทำงานเกือบทุกคน ทั้งนี้คุณควรจะเช็กว่าตัวเองจะได้รับการคุ้มครองเรื่องการรักษาพย าบาลถึงเมื่อไร ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะได้รับการคุ้มครองต่อไปอีก 6 เดือน

นอกจากนี้ยังควรรีบไปขึ้นทะเบียนคนว่างงานภายในระยะเวลา 30 วัน ตั้งแต่ออกจากงานด้วย เพราะตามเงื่อนไขของประกันสังคม ผู้ที่ส่งเงินสมทบติดต่อกัน 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน จะสามารถขึ้นทะเบียนคนว่างงาน และรับเงินชดเชยได้ โดยหากถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินชดเชยในจำนวน 50% ของรายได้

เป็นระยะเวลา 6 เดือน ส่วนในกรณีลาออกก็จะได้รับชดเชย 30% เป็นเวลา 3 เดือน ทั้งนี้สามารถไปยื่นเรื่องที่สำนักงานจัดหางานของรัฐได้ทุกแห่ง

10. ขึ้นทะเบียนกับกรมจัดหางาน

หากคุณกำลังอยู่ในช่วงสุญญากาศ จะหางานใหม่ก็ยังหาไม่ได้ จะหาอะไรทำเป็นรายได้เสริมก็ไม่รู้จะทำอะไรดี ขอแนะนำให้ขึ้นทะเบียนตนเองกับกรมการจัดหางาน

หน่วยงานนี้นอกจากเป็นตัวช่วยในการหางานใหม่ให้คุณแล้ว ก็ยังมีการฝึกอบรมดี ๆ ที่สามารถไปสร้างเป็นอาชีพได้ โดยสามารถไปขึ้นทะเบียนกับสำนักงานจัดหางานได้ทั่วประเทศ ไม่แน่นะ บางทีคุณอาจจะได้ความรู้ด้านอาชีพใหม่ ๆ หรืออาจจะได้โอกาสในการทำงานดี ๆ จากที่นี่ก็เป็นได้

แม้การถูกเลิกจ้างจะเป็นสิ่งที่เราไม่อย ากให้เกิด แต่ก็อย่ ามองโลกในแง่ร้ า ยมากจนเกินไป ทุกอย่ างย่อมมีทางออกเสมอหากเราตั้งสติได้ไว และนำข้อผิดพลาดเหล่านั้นมาเป็นบทเรียนสอนให้เราไม่ทำผิดพลาดอีกเป็นครั้งที่ 2 เชื่อว่าถ้าเราสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้แล้ว โอกาสก็ไม่มีวันจะทอดทิ้งเราไปอย่ างแน่นอน


ที่มา : money.kapook


ล้มแล้วต้องรีบลุก 10 สิ่งที่ควรทำหลังโดนให้ออกจากงาน หรือทำเมื่อตกงาน ล้มแล้วต้องรีบลุก 10 สิ่งที่ควรทำหลังโดนให้ออกจากงาน หรือทำเมื่อตกงาน Reviewed by Dusita Srikhamwong on เมษายน 04, 2563 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.